Google CDN (Content Delivery Network)
Google CDN เป็นบริการเนื้อหาโดยการดึงข้อมูลจาก Server ของ Google โดยตรง ซึ่งมีข้อดีต่อนักพัฒนาอย่างมาก เพราะสามารถประมวลการการคำนวณได้สะดวกและง่าย ดังนั้นการพัฒนาระบบโดยอ้างอิงชุดคำสั่งจากแหล่งให้บริการโดยตรงจึงทำให้เราได้ชุดคำสั่งที่ใหม่ และอัพเดตอัตโนมัติ ทันที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในเวอร์ชันที่เราได้เรียกใช้งานเราก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติมอีกเนื่องจาก CDN นั้นจะทำให้เราได้ชุดคำสั่งที่ใหม่อยู่เสมอ ซึ่งสามารถสรุปข้อดีของ Google CDN สำหรับ AngularJS ได้ดังนี้
ด้านหน่วยความจำแคชที่ดีขึ้น (Better Caching)
ด้านหน่วยความจำแคชที่ดีขึ้น (Better Caching) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เก็บเอาไว้เพื่อลดการเชื่อมต่อกับ Server ภายนอกโดยไม่จำเป็นทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและมีความเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น ถ้าเก็บ AngularJS ไว้ที่ Server ของตัวเอง อย่างน้อยในการทำงานหนึ่งครั้งจะต้องมีการเชื่อมต่อไปเพื่อโหลดเนื้อหาจาก AngularJS เสมอ แต่ถ้าหากบราวเซอร์ทำการเชื่อมต่อไปยัง Google CDN ในเวอร์ชันเดิมนั้นบราวเซอร์ก็จะลดการโหลดข้อมูลซ้ำ เนื่องจากบราวเซอร์สามารถตรวจสอบข้อมูลจากแอพพลิเคชันที่มีการเรียกใช้งาน AngularJS และสามารถเรียกใช้งานร่วมกันได้ ทำให้ลดภาระการดาวน์โหลดและเพิ่มความเร็วในการทำงานได้ด้วย
ลดการทำงานแฝง (Decreased Latency)
ลดการทำงานแฝง (Decreased Latency) เนื่องจาก Google CDN นั้นเป็นเนื้อหาแบบคงที่ให้บริการทั่วโลก หลากหลายแหล่งให้บริการการโหลดข้อมูลนั้นจะสามารถเชื่อมต่อและโหลดข้อมูลจากแหล่งที่ให้บริการที่ใกล้ที่สุดที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มการทำงานโดยภาพรวมได้เป็นอย่างดี
เพิ่มการทำงานพร้อม ๆ กันได้หลายงาน (Increased Parallelism)
เพิ่มการทำงานพร้อม ๆ กันได้หลายงาน (Increased Parallelism) การใช้งาน Google CDN จะช่วยลดการร้องขอการใช้งานไปที่ Server หรือ domain ของคุณ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของบราวเซอร์ จำนวนการทำงานพร้อม ๆ กันได้นั้นสามารถทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อ Server ที่ให้บริการได้ (ยกตัวอย่าง IE ที่มีเวอร์ชันต่ำกว่าเวอร์ชัน 7) ดังนั้นการเรียกใช้งานแบบ CDN จะทำให้บราวเซอร์ทำงานที่แสดงให้เกิดผลการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมาก