Tag Archives: คำพังเพย

สำนวน ภาษิตและคำพังเพย

สำนวน คือ คำกล่าวที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษรแต่มีความหมายเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป ใช้ถ้อยคำกะทัดรัดแต่มีความหมายมากมาย เช่น กินใจ หมายถึง ผิดใจกัน ปล่อยแก่ หมายถึง คนแก่ทำตัวหนุ่ม

การใช้สำนวนให้มีประสิทธิผล ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. ใช้ให้ถูกต้องตามความเหมาะสม
  2. ใช้ให้ถูกต้องตามสถานการณ์
  3. ใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ

ที่มาของสำนวนไทย

  1. เกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
  2. เกิดจากอาชีพต่าง ๆ เช่น เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
  3. เกิดจากกีฬาและการละเล่นของไทย เช่น ศอกกลับ รุกฆาต
  4. เกิดจากศาสนาและความเชื่อ เช่น ชายสามโบสถ์ คว่ำบาตร
  5. เกิดจากนิทานวรรณคดี เช่น ลูกทรพี ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
  6. เกิดจากอวัยวะ เช่น หัวหมอ หัวเดียวกระเทียมลีบ
  7. เกิดจากอาหาร เช่น ขนมพอสมน้ำยา ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
  8. เกิดจากประเพณีวัฒนธรรม เช่น ชิงสุกก่อนห่าม
  9. เกิดจากของกินของใช้ เช่น ฆ้องปากแตก หน้าสิ่วหน้าขวาน
  10. เกิดจากการกระทำความประพฤติ ความเป็นอยู่ เ่น กินปูนร้อนท้อง ชุบมือเปิบ
  11. เกิดจากประวัติศาสตร์ เช่น กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี

คำพังเพย

คำพังเพย คือ คำกล่าวที่เป็ฯคำกลางเพื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ หรือ สถานการณืที่เกิดขึ้น อาจมีลักษณะเป็นคำสอนหรือไม่มีก็ได้ เช่น

  • ความวัวยังไม่หาย ความควายก็เข้ามาแทรก
  • กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
  • ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง

สุภาษิต

สุภาษิต คือ คำกว่าที่ดีเป็นคติสอนใจที่นำมาปฏิบัติได้ทุกยุคทุกสมัย เช่น

  • ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
  • ตนนั้นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน
  • ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย