สำนวน ภาษิตและคำพังเพย
สำนวน คือ คำกล่าวที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษรแต่มีความหมายเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป ใช้ถ้อยคำกะทัดรัดแต่มีความหมายมากมาย เช่น กินใจ หมายถึง ผิดใจกัน ปล่อยแก่ หมายถึง คนแก่ทำตัวหนุ่ม
การใช้สำนวนให้มีประสิทธิผล ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- ใช้ให้ถูกต้องตามความเหมาะสม
- ใช้ให้ถูกต้องตามสถานการณ์
- ใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ
ที่มาของสำนวนไทย
- เกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
- เกิดจากอาชีพต่าง ๆ เช่น เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
- เกิดจากกีฬาและการละเล่นของไทย เช่น ศอกกลับ รุกฆาต
- เกิดจากศาสนาและความเชื่อ เช่น ชายสามโบสถ์ คว่ำบาตร
- เกิดจากนิทานวรรณคดี เช่น ลูกทรพี ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
- เกิดจากอวัยวะ เช่น หัวหมอ หัวเดียวกระเทียมลีบ
- เกิดจากอาหาร เช่น ขนมพอสมน้ำยา ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
- เกิดจากประเพณีวัฒนธรรม เช่น ชิงสุกก่อนห่าม
- เกิดจากของกินของใช้ เช่น ฆ้องปากแตก หน้าสิ่วหน้าขวาน
- เกิดจากการกระทำความประพฤติ ความเป็นอยู่ เ่น กินปูนร้อนท้อง ชุบมือเปิบ
- เกิดจากประวัติศาสตร์ เช่น กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
คำพังเพย
คำพังเพย คือ คำกล่าวที่เป็ฯคำกลางเพื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ หรือ สถานการณืที่เกิดขึ้น อาจมีลักษณะเป็นคำสอนหรือไม่มีก็ได้ เช่น
- ความวัวยังไม่หาย ความควายก็เข้ามาแทรก
- กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
- ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง
สุภาษิต
สุภาษิต คือ คำกว่าที่ดีเป็นคติสอนใจที่นำมาปฏิบัติได้ทุกยุคทุกสมัย เช่น
- ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
- ตนนั้นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน
- ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย